|
ชื่อสามัญภาษาไทย | ตานหม่อน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Vernonia elliptica DC. |
ชื่อพ้อง | Vernonia elliptica DC., Vernonia elaeagnifolia DC., Cacalia elaeagnifolia Kuntze |
ชื่อวงศ์ | Asteraceae |
ชื่อท้องถิ่น | ตานหม่อน (นครศรีธรรมราช) , ตานค้อน (สุราษฏร์ธานี), ช้าหมักหลอด, ข้าหมักหลอด (หนองคาย), ตานขี้นก |
ต้นตานหม่อน จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นและพยุงตัวขึ้นไป เปลือกเถาเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมอยู่หนาแน่น ลำต้นแตกกิ่งก้านยาวเรียว แตกลำได้ใหม่จากลำต้นที่ทอดไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำต้น ชอบความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศตามชายป่าผสมผลัดใบ ป่าดงดิบแล้งทั่วไป และเป็นพรรณไม้ที่ทนความแห้งแล้งได้ดี ใบตานหม่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือบางครั้งเป็นหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบหนาคล้ายหนัง หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีเงินหรือสีขาวนวล ดอกตานหม่อน ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบหรือที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีขาวนวล กลีบดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ด้านนอกมีขนผลตานหม่อน ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก ผลมีสัน 5 สัน เมล็ดล่อนเป็นสีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย | |
| |
ต้น | ขับพยาธิ |
|