|
ชื่อสามัญภาษาไทย | พิลังกาสา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ardisia polycephala Wall. ex A.DC. |
ชื่อพ้อง | Tinus polycephala (Wall. ex A. DC.) Kuntze |
ชื่อวงศ์ | Primulaceae |
ชื่อท้องถิ่น | ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย), ตีนจำ (เลย), ลังพิสา (ตราด), ทุรังกาสา (ชมพร), ราม (สงขลา), ปือนา (มลายู-นราธิวาส), พิลังกาสา (ทั่วไป), จิงจ้ำ, จ้ำก้อง, มะจ้ำใหญ่, ตาปลาราม, ตาเป็ด, ทุกังสา, มาตาอาแย |
ต้นพิลังกาสา เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่หมู่เกาะริวกิวของประเทศญี่ปุ่น และกระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงอินเดียภาคใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม มีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ชอบดินทรายหรือดินเหนียว แต่ไม่ชอบดินแฉะ โดยจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าราบและมีประปรายอยู่ทั่วไป บ้างว่าพบได้ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขาทั่วไป ที่ราบสูง ใบพิลังกาสา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจัก แผ่นใบเป็นสีเขียวมัน มีลักษณะหนาและใหญ่ ส่วนยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอกพิลังกาสา ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือตามส่วนของยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล บ้างว่าเป็นสีชมพูอมขาว หรือสีขาวแกมชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่จะมี 5 แฉก คล้ายรูปดาว ผลพิลังกาสา ผลมีลักษณะกลมโต มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ออกผลเป็นกระจุกมีก้านช่อยาวห้อยย้อยลง และก้านผลยาวเรียงสลับรอบก้านช่อ ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อแก่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ | |
| |
ราก | แก้กามโรค |
|