มะเดื่อชุมพร
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะเดื่อชุมพร
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCluster fig, Goolar (Gular), Fig
  ชื่อที่เกี่ยวข้องมะเดื่อป่า,มะเดื่อเกลี้ยง, เดื่อน้ำ, เดื่อใหญ่
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus racemosa L.
  ชื่อพ้องFicus glomerata Roxb.
  ชื่อวงศ์Moraceae
  ชื่อท้องถิ่นมะเดื่ออุทุมพร, มะเดื่อไทย(ทั่วไป) ภาคกลาง, มะเดื่อเกลี้ยง, มะเดื่อดง (ภาคเหนือ),เดื่อน้ำ (ภาคใต้), หมากเดื่อ, เดื่อเลี้ยง(ภาคอีสาน), ถูแซ (กะเหรี่ยง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะเดื่อชุมพร เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนสีเขียว หรือสีเขียวในน้ำตาล กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม 

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใบบาง รูปไข่หรือรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมนหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขน ไม่หลุดร่วงง่าย 

ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอก มีก้านเกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งสั้นๆ ที่แตกออกจากลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่ 
ผล รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เมื่อฉีกออกจะพบเกสรเล็กๆ อยู่ภายในผลผลสุกมีสีแดง

สรรพคุณทั่วไป

  • แก้ไข้ ไข้พิษ ไข้กาฬ
  • แก้ร้อนใน ระงับความร้อน
  • กระทุ้งพิษไข้
  • กล่อมเสมหะ และโลหิต
  • แก้ไข้หัวลม
  • แก้ท้องร่ว
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ต้านเชื้อบิด
  • ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ
  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยแก้อาเจียน ธาตุพิการ
  • แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง
  • ช่วยห้ามเลือด
  • ช่วยชะล้างบาดแผล สมานแผล
  • แก้เม็ดผื่นคัน
  • แก้ท้องร่วง
  • เป็นยาระบาย 

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ผลอ่อน รับประทานเป็นอาหาร 
  • ยอดอ่อนใช้ลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแอกไถ หีบใส่ของ ไม้จิ้มฟัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  2. เว็บไซต์มูลนิธิหมอชาวบ้าน
  3. เว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)