|
ชื่อสามัญภาษาไทย | ชำมะเลียง |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Luna nut หรือ Chammaliang |
ชื่อที่เกี่ยวข้อง | โคมเรียง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. |
ชื่อวงศ์ | Sapindaceae |
ชื่อท้องถิ่น | โคมเรียง (ตราด), พูเวียง (นครราชสีมา), มะเถ้า ผักเต้า (ภาคเหนือ), หวดข้าใหญ่ ภูเวียง (ภาคอีสาน), ชำมะเลียง ชำมะเลียงบ้าน พุมเรียง พุมเรียงสวน (ภาคกลาง) |
ชำมะเลียงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 4-7 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 5-7 คู่ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 7-21 เซนติเมตร ปลายใบแหลมทู่ โคนใบมน ขอบใบและแผ่นใบเรียบหนา สีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน มีหูใบเป็นแผ่นเกือบกลม กว้าง 2.0-3.5 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อห้อยตามกิ่งและลำต้น มีสีม่วง และพบได้น้อยที่เป็นดอกสีขาวหรือสีเหลือง ช่อดอกยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร ดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกบานกว้าง 5-7 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ผล รูปไข่ถึงรูปกลมรี ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ผลสดสีเขียวอมแดง เมื่อผลสุกเป็นสีแดงถึงสีม่วงดำ เมล็ด รูปเกือบกลม แบนด้านข้าง มี 2 เมล็ด | |
| |
ผลสามารถนำมาใช้ทำเป็น “น้ำชำมะเลียง” ได้ ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ชำมะเลียงสุกงอม 1 ถ้วย, น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย, เกลือ 1 ช้อนชา และน้ำต้มสุกอีก 1 ถ้วยครึ่ง โดยวิธีการทำอย่างแรกให้เลือกผลชำมะเลียงที่ผลโต ๆ และสุกงอม นำมาล้างให้สะอาด ใส่ลงในภาชนะ เติมน้ำต้มสุกลงไปเล็กน้อย แล้วยีให้เมล็ดออกจากเนื้อ เติมน้ำที่เหลือลงไป กรองเอาเมล็ดและเปลือกออก หลังจากนั้นให้เติมน้ำเชื่อมและเกลือลงไปเป็นอันเสร็จ ก็จะได้น้ำชำมะเลียงสีม่วงและชิมรสชาติได้ตามชอบ | |
|