ทองพันชั่ง
  ชื่อสามัญภาษาไทยทองพันชั่ง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษWhite crane flower
  ชื่อที่เกี่ยวข้องทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
  ชื่อวิทยาศาสตร์Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz.Rhinacanthus communis Nees
  ชื่อพ้องRhinacanthus communis Nees.
  ชื่อวงศ์Acanthaceae
  ชื่อท้องถิ่นท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม 

ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ 

ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบมีขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้น ๆ ส่วนกลีบล่างแผ่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ส่วนก้านเกสรจะสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก 

ลักษณะผลเป็นฝักและมีขน ภายในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • รากและต้นช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ต้นช่วยแก้โรค 108 ประการ 
  • ใบช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง 
  • ช่วยรักษาวัณโรคปอดในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ก้านและใบสดประมาณ 30 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 10-15 กรัม) นำมาผสมกับน้ำตาลกรวดต้มเป็นน้ำดื่ม 
  • ช่วยแก้ลมสาร
  • ใช้เป็นยาหยอดตา
  • ใบรสเบื่อเมาช่วยดับพิษไข้ หรือจะใช้รากนำมาต้มรับประทานแก้พิษไข้ก็ได้
  • ช่วยแก้ไข้เหนือ 
  • ใบช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด 
  • ช่วยแก้อาการช้ำใน

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย 
  • ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด 
  • ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ 
  • ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ (นักวิจัยภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  3. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  4. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. การแยกและการพิสูจน์เอกลักษณ์สารกลุ่มควิโนนที่มีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ จากใบของต้นทองพันชั่ง (ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์)
  6. www.thaigoodview.com