ขมิ้นอ้อย
  ชื่อสามัญภาษาไทยขมิ้นอ้อย
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษZedoary, Luya-Luyahan
  ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe
  ชื่อวงศ์Zingiberaceae
  ชื่อท้องถิ่นสากเบือ (ละว้า), ขมิ้นขึ้น (ภาคเหนือ), ว่านเหลือง (ภาคกลาง), ละเมียด (เขมร), ว่านขมิ้นอ้อย, ขมิ้นเจดีย์, หมิ้นหัวขึ้น, สากกะเบือ, เผิงเอ๋อซู๋ (จีนกลาง)
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • เหง้าขมิ้นอ้อยมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ช่วยกระจายโลหิต รักษาอาการเลือดคั่ง หรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดในท้องอุดตัน (เหง้า)
  • ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ แก้พิษโลหิต ใช้เป็นเป็นยาชำระโลหิต (เหง้า)
  • ช่วยลดความดันโลหิต (เหง้า)
  • ในเหง้าหรือในหัวสดของขมิ้นอ้อย มีสารหอมชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)
  • ช่วยแก้อาการหืดหอบหายใจไม่เป็นปกติ (เหง้า)
  • เหง้าสดนำมาตำผสมกับการบูรเล็กน้อย นำมาดอง (ไม่แน่ใจว่าดองหรือผสม) กับน้ำฝนกลางหาว ใช้รินเอาแต่น้ำเป็นยาหยอดตา แก้อาการตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาพิการ (เหง้าสด)
  • ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)
  • ช่วยแก้ไข้ทั้งปวง (เหง้า)
  • ใช้รักษาอาการหวัด ด้วยการใช้หัวขมิ้นอ้อย อบเชยเทศ และพริกหาง นำมาต้มแล้วเติมน้ำผึ้งใช้รับประทานเป็นยาแก้หวัด (เหง้า)
  •  ช่วยแก้อาเจียน (เหง้า)
  • ช่วยแก้เสมหะ (เหง้า)
  • เหง้าขมิ้นอ้อยมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ช่วยกระจายโลหิต รักษาอาการเลือดคั่ง หรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดในท้องอุดตัน (เหง้า)
  • ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ แก้พิษโลหิต ใช้เป็นเป็นยาชำระโลหิต (เหง้า)
  • ช่วยลดความดันโลหิต (เหง้า)
  • ในเหง้าหรือในหัวสดของขมิ้นอ้อย มีสารหอมชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)
  • ช่วยแก้อาการหืดหอบหายใจไม่เป็นปกติ (เหง้า)
  • เหง้าสดนำมาตำผสมกับการบูรเล็กน้อย นำมาดอง (ไม่แน่ใจว่าดองหรือผสม) กับน้ำฝนกลางหาว ใช้รินเอาแต่น้ำเป็นยาหยอดตา แก้อาการตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาพิการ (เหง้าสด)
  • ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)
  • ช่วยแก้ไข้ทั้งปวง (เหง้า)
  • ใช้รักษาอาการหวัด ด้วยการใช้หัวขมิ้นอ้อย อบเชยเทศ และพริกหาง นำมาต้มแล้วเติมน้ำผึ้งใช้รับประทานเป็นยาแก้หวัด (เหง้า)
  • ช่วยแก้อาเจียน (เหง้า)
  • ช่วยแก้เสมหะ (เหง้า)
  • ช่วยแก้ฝีในมดลูกของสตรี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 3 ท่อน, บอระเพ็ด 3 ท่อน, ลูกขี้กาแดง 1 ลูก (นำมาผ่าเป็น 4 ซีก แล้วใช้เพียง 3 ซีก) แล้วนำมาต้มรวมกับสุรา ใช้กินเป็นยาแก้ฝีในมดลูกได้ (เหง้า)
  • ช่วยแก้เสี้ยน ถูกหนามตำ ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 5 แว่น ดอกชบา 5 ดอก และข้าวเหนียวสุกประมาณ 1 กำมือ นำมาตำแล้วใช้พอก จะสามารถช่วยดูดเสี้ยนและหนองที่ออกจากแผลได้ (เหง้า)
  • ใช้รักษาอาการปวด ปวดบวม แก้บวม ฟกช้ำ แก้ช้ำใน แก้อักเสบ แก้อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเคล็ดอักเสบ และบรรเทาอาการปวดได้ดี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นสด ๆ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาพอกบริเวณที่มีอาการบวม จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ฟกชกช้ำบวมได้ (เหง้า)
  • ส่วนใบก็ช่วยแก้ฟกช้ำบวมได้เช่นกัน (ใบ)
  • ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (เหง้า)
  • น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ยับยั้งและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี เช่น เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝีหนองที่แผล เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
  • เหง้านำมาใช้เข้าตำรับยาจู้ (ยานวดประคบ) ใช้แก้อาการปวดเมื่อย เจ็บตามร่างกาย (เหง้า)
  • เหง้าใช้ผสมในยาระบายเพื่อทำให้ยาระบายมีฤทธิ์น้อยลง (เหง้า)
  • เหง้าใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง
  • รักษาโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก (เหง้า)


 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ขมิ้นอ้อย”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 90-91.
  • หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  “ขมิ้นอ้อย Zedoary”.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  หน้า 95.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “ขมิ้นอ้อย”.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 118.
  • ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.  “ขมิ้นอ้อย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/.  [09 ก.พ. 2014].
  • โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “Zedoary”.  อ้างอิงใน: หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง (อัปสรและคณะ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [09 ก.พ. 2014].
  • บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร, งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.  “ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย”.  (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th.  [09 ก.พ. 2014].
  • สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหิน, ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย.  “ขมิ้นอ้อย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: nonghin.loei.doae.go.th.  [09 ก.พ. 2014].
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “ฤทธิ์สงบระงับของสมุนไพรไทยขมิ้นอ้อย”.  (พัฒนชัย เสถียรโชควิศาล,สัจจา ศุภพันธ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th.  [09 ก.พ. 2014].
  • ไทยรัฐออนไลน์.  “ขมิ้นอ้อยกับสรรพคุณน่ารู้”.  (นายเกษตร).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th.  [09 ก.พ. 2014].
  • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  “ขมิ้นอ้อย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org.  [09 ก.พ. 2014].
  • https://medthai.com/ขมิ้นอ้อย/