ไผ่รวก
  ชื่อสามัญภาษาไทยไผ่รวก
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษLong sheath Bamboo
  ชื่อที่เกี่ยวข้องไผ่ฮวก ตีโย รวก ว่าบอบอ แวบ้าง แวปั่ง ฮวก สะลอม
  ชื่อวิทยาศาสตร์Thyrsostachys siamensis Gamble.
  ชื่อพ้องไผ่ฮวก ตีโย รวก ว่าบอบอ แวบ้าง แวปั่ง ฮวก สะลอม
  ชื่อวงศ์Annonaceae
  ชื่อท้องถิ่นตีโย ไผ่รวก (กลาง) ไผ่ฮวก (เหนือ) ว่าบอบอ แวบ้าง แวปั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) สะลอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ไผ่รวกเป็นไม้ล้มลุก สูง 5-10 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-5 เซนติเมตร ผิวเรียบ สีเขียวอมเทา ไม่มีหนาม เนื้อแข็ง ข้อปล้องชัดเจน แต่ละปล้องยาว 15-30 เซนติเมตร มีกาบหุ้มลำต้นบางแนบชิดลำต้น ไม่หลุดร่วง ยอดกาบบางเรียวสอบไปหาปลาย

    ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง 0.6-1.2 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบคม แผ่นใบสีเขียวอ่อน เส้นใบข้างละ 3-5 เส้น ไม่มีติ่ง สากมือ

    ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก

สรรพคุณทั่วไป

  • ราก ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้หนองใน ขับโลหิตระดู แก้มุตกิดระดูขาว แก้ไข้กาฬ แก้ไข้กาฬมูต แก้กระหายน้ำ แก้เบาแดง บำรุงเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะและโลหิต ประสะโลหิต แก้ไข้พิษ
  • ขุยไผ่ แก้ทางปัสสาวะ แก้เสมหะ แก้บิด แก้โรคตาแดง แก้หืดไอ แก้ไข้
  • ใบ ขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย ประสะโลหิต ล้างทางปัสสาวะ
  • ผล แก้โรคตา แก้หืด ไอ แก้ไข้อันผอมเหลือง แก้ฟกบวม แก้ไข้

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://data.addrun.org/plant/archives/556-thyrsostachys-siamensis-gamble