ตะเคียนหิน
  ชื่อสามัญภาษาไทยตะเคียนหิน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษMalut thakien hin
  ชื่อที่เกี่ยวข้องตะเคียนทราย เหลาเตา ตะเคียนหนู
  ชื่อวิทยาศาสตร์Hopea ferrea Laness.
  ชื่อวงศ์Dipterocarpaceae
  ชื่อท้องถิ่นตะเคียนหิน (ใต้) ตะเคียนหนู (นครราชสีมา) เคียนทราย (ตราด ตรัง) เหลาเตา (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราข)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ตะเคียนหินเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวยแหลม โคนต้นมีพูพอน

    ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2.5–3 เซนติเมตร ยาว 6–8.5 เซนติเมตร โคนใบทู่หรือกลมแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ ปลายใบยาวคล้ายหาง ใบเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน มีเส้นแขนงใบ 8–10 คู่ ก้านใบยาว 1–1.3 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะมีสีดำ

    ดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงสั้น ออกระหว่างง่ามใบหรือปลายกิ่ง มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ จีบเวียนเป็นรูปกังหัน กลีบดอกยาวเป็นสองเท่าของกลีบเลี้ยง มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนเช่นกัน

    ผลเป็นผลแห้งไม่แตก มีผิวแข็ง เป็นรูปขอบขนาน มีปีก 5 ปีก ผลและโคนปีกไม่เชื่อมติดกัน ปีกยาว 2 ปีก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปีกสีน้ำตาลดำ ปีกสั้น 3 ปีก สั้นมากติดกับโคนผล

สรรพคุณทั่วไป

  • แก่น ใช้เข้ายารักษาโรคเลือดลมไม่ปกติ แก้กระษัย

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • นำรากไปตากเเละต้ม

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.samunpri.com/ตะเคียนหิน/?amp=1