กะเพราแดง
  ชื่อสามัญภาษาไทยกะเพราแดง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษRed Thai Holy basil
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ocimum tenuiflorum L.
  ชื่อพ้องGeniosporum tenuiflorum (L.) Merr., Lumnitzera tenuiflora (L.) Spreng., Moschosma tenuiflorum (L.) Heynh., Ocimum anisodorum F.Muell., Ocimum caryophyllinum F.Muell., Ocimum hirsutum Benth., Ocimum inodorum Burm.f., Ocimum monachorum L.,,Ocimum sanctum L., Ocimum scutellarioides Willd. ex Benth., Ocimum subserratum B.Heyne ex Hook.f., Ocimum tomentosum Lam., Plectranthus monachorum
  ชื่อวงศ์Labiatae
  ชื่อท้องถิ่นกอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพรา กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง) ห่อกวอซู ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กะเพราแดง (Ka-Pow-Dang) เป็นกะเพราชนิดหนึ่ง เป็นพืชสมุนไพร เป็นพืชล้มลุก มีทรงพุ่ม มีอายุหลายปี เจริญเติบโตได้ง่ายๆ ลำต้นมีลักษณะกลมๆ มีสีเขียวอมแดง โคนเนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะทรงรีเล็กๆ ขอบใบเป็นรอยหยักเล็กๆ ใบมีสีเขียวอมม่วงแดง หรือสีน้ำตาลอมแดง ใบด้านบนสีเข้มกว่าใบด้านล่าง มีก้านใบยาวรองรับ มีขนสีขาวเล็กๆปกคลุม ใบบอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่าย รสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมแรง มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ตั้งขึ้นคล้ายฉัตร มีดอกย่อยอยู่ ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อย มีลักษณะเล็กๆ รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีสีขาวแกมม่วงแดง เมื่อผลแก่แห้งแล้วจะแตกออก ภายในจะมีเมล็ดอยู่มากมาย เมล็ดมีลักษณะทรงรีเล็กๆ มีสีดำ นำมาประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ ได้หลายเมนู นิยมปลูกเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน กะเพราแดงจะมีกลิ่นแรงกว่ากะเพราขาว

ลำต้น เป็นพืชสมุนไพร เป็นพืชล้มลุก มีทรงพุ่ม ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมๆ โคนต้นสูงมีเนื้อแข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก มีขนปกคลุม มีสีเขียวอมแดง

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะทรงรีเล็กๆ ขอบใบเป็นรอยหยักเล็กๆ ใบมีสีเขียวอมม่วงแดง หรือสีน้ำตาลอมแดง ใบด้านบนสีเข้มกว่าใบด้านล่าง มีก้านใบยาวรองรับ มีขนสีขาวเล็กๆปกคลุม ใบบอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่าย รสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมแรง มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว

ราก มีระบบรากแก้ว แทงลึกลงในดิน มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากแขนงรากฝอยเล็กๆ มีสีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว
ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ตั้งขึ้นคล้ายฉัตร มีดอกย่อยอยู่ ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกย่อย มีลักษณะเล็กๆ รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีสีขาวแกมม่วงแดง

ผล มีลักษณะทรงไข่เล็กๆ ผลแก่แห้งจะแตกออก จะมีเมล็ดเล็กสีดำอยู่มากมาย

เมล็ด เมื่อผลแก่แห้งแล้วจะแตกออก ภายในจะมีเมล็ดอยู่มากมาย มีลักษณะทรงรีเล็ก ๆ มีสีดำ

สรรพคุณทั่วไป

  •  ตำรายาไทย: ใช้ใบและยอดกะเพราะ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆสะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้ ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน
  •  ตำรายาไทยระบุว่า “กะเพราะทั้ง 2” (กะเพราะขาว-กะเพราแดง) ใช้ทั้ง 5 ส่วน มีรสเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แต่ในทางยานิยมใช้กระเพราะแดงมากกว่ากระเพราะขาว เพราะมีฤทธิ์ทางยามากกว่า
  • โบราณใช้น้ำคั้นใบกะเพรา กินเพื่อขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ใบกะเพราะทำเป็นยาชง ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ และขับลมในเด็กอ่อน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ
  • บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้ใบกะเพรา ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง”  มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ ตำรับ "ยาเลือดงาม" มีส่วนประกอบของรากและใบกะเพราร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด
  • ยาพื้นบ้านของอินเดีย: ใช้น้ำคั้นจากใบกินขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ทาที่ผิวหนังแก้กลาก หยอดหูแก้ปวดหู ชงกินเป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ในชวาใช้ใบปรุงอาหาร รับประทานเพื่อขับน้ำนม

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
  2. จิราภรณ์ โสดาจันทร์, บันลือ สังข์ทอง, สกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ์. องค์ประกอบหลักทางเคมี และฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคในช่องปากของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสกุล Ocimum spp. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2558;11(ฉบับพิเศษ):304-310.
  3. ประภัสสร วีระพันธ์, วัชรี คุณกิตติ. คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยในหลอดทดลอง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2554;7(3):30-38.
  4. รัตติพร กายเพชร, ธนิยา หมวดเชียงคะ, ไพรินทร์ ต้นพุฒ.ฤทธิ์การต้านเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิวแทนส์ของน้ำมันหอมระเหยกะเพรา. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล. 2558;35(3):311-319.
  5. สุกัญญา เขียวสะอาด.กะเพรากับการต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 2555;21(2):54-65.
  6. Gautamn MK, Goel RK. Toxicological Study of Ocimum sanctum L. Leaves:Hematological, Biochemical, and Histopathological Studies. Journal of Toxicology. 2014;2014:1-9.
  7. Godhwani S, Godhwanim JL, Vyas DS. Ocimum sanctum: An experimental study evaluating its anti-inflammatory, analgesic and antipyretic activity in animals. J Ethnopharmacology.1987;21(2):153-163.
  8. Sethabouppha B, Chanluang S, Lam LH, Suwannakul S. Screening of Thai plants for Inhibition of CYP2D6 enzyme activity. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University. 2015;17(3): 28-32.
  9. Singh S, Majumdar DK, Rehan HMS. Evaluation of anti-inflammatory potential of fixed oil of Ocimum sanctum (Holybasil) and its possible mechanism of action. J Ethnopharmacology .1996; 54 :19-26.
  10. Uma M, Suresh M, Thulasiraman K, Lakshmidevi E, Kalaiselvia P. Chronic toxicity studies of aqueous leaf extract of Indian traditional medicinal plant Ocimum tenuiflorum (L.) in rats. European Journal of Experimental Biology. 2013; 3(5):240-247.