มันเสา
  ชื่อสามัญภาษาไทยมันเสา
  ชื่อที่เกี่ยวข้องมันเทียน
  ชื่อวิทยาศาสตร์Dioscorea alata Linn.
  ชื่อพ้องD. atropurpurea Roxb. D. globosa Roxb.
  ชื่อวงศ์Dioscoreaceae
  ชื่อท้องถิ่นมันเสา มันงู มันจาวมะพร้าว มันมือหมี มันเลือดไก่ (กลาง) นอย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) มันเขาวัว มันแข้งช้าง มันตีนช้าง มันเลี่ยม (เหนือ) มันดอกทอง (นครราชสีมา) มันแถบ (ปราจีนบุรี) มันทู่ (นครศรีธรรมราช) มันลองเชิง (สระบุรี) มันหวาย (เลย) ยวยหมี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มันเสาเป็นไม้เลื้อย รากสีชมพูอมม่วง เถาเป็นสันเหลี่ยม มีครีบ ลำต้นเลี้อยพันไปทางขวา ไม่มีหนาม แต่บางครั้งเป็นปุ่มปม หรือเป็นรอยหยาบที่โคน มีหัวขนาดเล็กตามซอกใบและมีหัวใต้ดิน หัวมีขนาดใหญ่ ด้านนอกสีน้ำตาล เนื้อสีขาวสีครีมจนถึงสีม่วง หัวใต้ดินขนาดใหญ่มีรูปทรงหลายแบบ เช่น ยาวตรง กลม แตกเป็นนิ้วมือ รูปตัวยู ทรงกระบอก รูปกลม ทรงลูกแพร์เดี่ยว 

ใบเป็นรูปหัวใจ สีเขียวหรือสีเหลือบม่วง 

ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น ดอกตัวผู้ขนาดเล็ก แกนช่อดอกบางครั้งหงิกงอไปมา ดอกตัวเมียสีเหลืองไม่มีก้านดอก 

ผลเดี่ยว มีปีกสามแฉก ผิวเรียบแก่แล้วเป็นสีน้ำตาลเมล็ดกลม


สรรพคุณทั่วไป

  • หัวและหัวย่อยใช้ปรุงอาหาร นำไปแปรรูปเป็นแป้ง 
  • เนื้อหัวค่อนข้างร่วน สารสีม่วงในหัวคือเป็นสารไซยานิดีนกลูโคไซด์หัวใต้ดินเป็นยาขับพยาธิ แก้โรคเรื้อนและริดสีดวงทวาร 
  • มันเสามีแอนโทไซยานินสูง บางประเทศใช้ทำไอศกรีมหรือขนม ใช้มันเสานึ่งผสมในกุนเชียงแทนมันหมูได้

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://th.wikipedia.org/wiki/มันเสา
  2. "หัวมันหัวกลอย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-09-07.
  3. มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552