ส้มเสี้ยว
  ชื่อสามัญภาษาไทยส้มเสี้ยว
  ชื่อวิทยาศาสตร์Bauhinia malabarica Roxb.
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นแดงโค (สระบุรี),คังโค (สุพรรณบุรี),เสี้ยงใหญ่(ปราจีนบุรี),เสี้ยวส้ม (โคราช),ป้าม (สุรินทร์)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ส้มเสี้ยวจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น มีความสูงประมาณ 6-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทา แตกสะเก็ดยาวตามลำต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียว มีขนประปราย กิ่งแก่สีน้ำตาล เกลี้ยง 

ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ออกแบบเรียงสลับ เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ปลายใบกลมมน ขอบใบเรียบ โครนใบรูปหัวใจ ผิวใบด้านบนและด้านล่างเกลี้ยง แผ่นใบยาว 4.5-9 ซม. กว้าง 5.5-12 ซม. ปลายใบแยกเป็นสองแฉก ลึก 1/6-1/3 ของความยาวใบ ระหว่างแฉกใบมีติ่งเรียวยาว 3-5 มม. มีก้านใบ ยาว 1.5-2.5 มม. ส่วนใบประดับเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาว 1 มม. 

ดอกออกแบบช่อกระจาย บริเวณซอกใบโดยช่อดอกจะยา 1.5-4.5 ซม. มีขนประปราย ฐานดอกเป็นรูปลูกข่าง มีก้านดอกย่อยสีเขียว ยาว 7-10 มม. ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบสีเขียว เชื่อมติดกันคล้ายกาบ ยา 6-8 มม. กว้าง 2-3 มม. เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกแหลม กลีบดอกมี 5 กลีบสีขาว รูปขอบขนานยาว 5-7 มม. กว้าง 3-5 มม. 

ผลออกเป็นฝักรูปดาบหรือรูปขาบขนานปลายแหลมเป็นจะงอยแบนมีความยาว 20-25 ซม.กว้าง 1-1.5 ซม. ฝักเมื่ออ่อนสีเขียวมีขนสั้นนุ่มประปรายปกคลุม เมื่อแก่สีน้ำตาลดำเกลี้ยง แข็งคล้ายเนื้อไม้ ฝักแก่แตกแล้วจะบิดเป็นเกลียว เมล็ดสีน้ำตาลดำกลมแบน ผิวเรียบมันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. โดยใน 1 ฝักจะมีประมาณ 10-30 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยขับโลหิตระดู
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยฟอกโลหิต
  • แก้แผลเปื่อยพัง
  • แก้ไอ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • แก้ท้องเสีย
  • แก้บิด
  • แก้อัมพฤกษ์อัมพาต
  • ใช้ห้ามเลือด
  • ใช้ร่วมกับยาระบาย ทำให้ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักได้ดี
  • ใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิตระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติดีขึ้น
  • ช่วยต้านการอักเสบ
  • ช่วยต้านเชื้อจุลชีพ
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ใบมีรสเปรี้ยวฝาด เป็นยาขับโลหิตระดู และขับปัสสาวะ 
  • เปลือกต้น รสเปรี้ยวฝาด แก้ไอ ฟอกโลหิต

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.samunpri.com/ส้มเสี้ยว 
  2. https://www.disthai.com/ส้มเสี้ยว