ชงโค
  ชื่อสามัญภาษาไทยชงโค
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษOrchid tree, Purple orchid tree, Butterfly tree, Purple bauhinia, Hong kong orchid tree
  ชื่อวิทยาศาสตร์Bauhinia purpurea L.
  ชื่อพ้องชงโค
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน กะเฮอ สะเปซี (แม่ฮ่องสอน), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     ชงโค เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม
    
    ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้าย ๆ กับใบกาหลง)
    ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก โดยเป็นต้นไม้ที่ผลัดใบในช่วงฤดูหนาว (ปลายปี) แล้วจะผลิใบในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน

    ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ โดยจะออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 6-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 5 กลีบ โดยกลีบดอกจะมีสีชมพูถึงสีม่วงแดง ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกกล้วยไม้ เมื่อบานเต็มที่ดอกชงโคจะกว้างประมาณ 7-9 เซนติเมตร ตรงกลางของดอกจะมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว 5 เส้น ยื่นออกไปด้านหน้า โค้งขึ้นด้านบน และมีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง 1 เส้น ยาวกว่าเกสรตัวผู้

สรรพคุณทั่วไป

  • ใบชงโคนำไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้
  • ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี
  • ชงโคมีสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยแก้บิด ช่วยขับลมในกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบชงโคใช้พอกฝีและแผลได้

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. เว็บไซต์เดอะแดนดอทคอม
  2. เว็บไซต์หมอชาวบ้าน
  3. https://kaset.today/