|
ชื่อสามัญภาษาไทย | สาบแร้งสาบกา |
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ | Goat Weed |
ชื่อที่เกี่ยวข้อง | ตับเสือเล็ก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ageratum conyzoides L. |
ชื่อพ้อง | Ageratum obtusifolium Lam. |
ชื่อวงศ์ | Asteraceae |
ชื่อท้องถิ่น | หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี), ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) เทียมแม่ฮาง (เลย), เซ้งอั่งโซว (จีนแต้จิ๋ว), เซิ่งหงจี้ (จีนกลาง) เป็นต้น |
ต้นสาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง ใบสาบแร้งสาบกา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ส่วนยอดของใบจะเรียงสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 7-26 มิลลิเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปกลมมนรี ปลายใบแหลม โคนใบกลมมนหรือเว้าเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวและมีขนสั้น ๆ อ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน ดอกสาบแร้งสาบกา ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและบริเวณส่วนยอดของลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร และดอกย่อยอยู่อัดตัวกันแน่นเป็นจำนวนมาก ดอกเป็นสีฟ้า สีม่วงน้ำเงิน หรือสีขาว กลีบดอกมีขนาดเล็กเป็นหลอดเส้นๆ ปลายแหลม เรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น หลังกลีบดอกมีขนเล็กน้อย ส่วนปลายมีรอยแยกเป็น 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ใจกลางดอก ผลสาบแร้งสาบกา ผลมีขนาดเล็กสีดำ ลักษณะของผลเป็นรูปคล้ายทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น มีร่อง 5 ร่อง | |
| |
| |
|