ตะคร้อหนาม
  ชื่อสามัญภาษาไทยตะคร้อหนาม
  ชื่อวิทยาศาสตร์Sisyrolepis muricata (Pierre) Leenh.
  ชื่อวงศ์Sapindaceae
  ชื่อท้องถิ่นเคาะหนาม, เคาะหยุม, มะจ๊กหนาม, มะโจ๊กหนาม, มะจ๊กหยุม (ภาคเหนือ), ค้อหนาม (อุบลราชธานี)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ตะคร้อหนามเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม.

    ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้างได้ถึง 7 ซม. ยาวได้ถึง 18 ซม. ปลายใบกลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบเว้าตื้นถึงเฉียง

    ดอกช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ยาวได้ถึง 32 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้สีขาว อับเรณูสีแดง

    ผลแห้งแตก ค่อนข้างกลม มีหนามยาวได้ถึง 3 ซม. เมล็ด มี 1 - 3 เมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

  • ลำต้นผสมกับรากสามสิบ รากเจตพังคี เปลือกต้นเสี้ยวใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • แหนงหรือกิ่ง ต้มดื่มแก้โรคกระเพาะอาหาร
  • เมล็ดกลั่นน้ำมัน ใช้จุดตะเกียงและปรุงเครื่องสำอาง

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=415