ป่าช้าเหงา
  ชื่อสามัญภาษาไทยป่าช้าเหงา
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษBitter leaves
  ชื่อที่เกี่ยวข้องหนานเฉาเหว่ย, หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่, ป่าเฮ่วหมอง, บิสมิลลาฮ์
  ชื่อวิทยาศาสตร์Gymnanthemum extensum
  ชื่อวงศ์Asteraceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ป่าช้าเหงา ใบออกสลับ มีรูปรี ปลายแหลม โคนป้านเกือบมน ใบอ่อนและใบแก่ มีรสขมจัด เมื่อเคี้ยวตอนแรก จะขมในปากมาก แต่พอสักพักจะรู้สึกหวานในปากและในลำคอ Leaf of a bitterleaf shrub 

ดอก ดอกมีสีขาว ออกตามซอกใบ และปลายยอด ตาพืช มีตาสีขาวตรงข้อของลำต้น ลักษณะของ ตา 

ผล ผลมีรูปทรงกลม เมล็ด มีเมล็ด

สรรพคุณทั่วไป

ใบสด ตำราจีนระบุว่า 
  • ช่วยลดความดัน 
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด 
ใบสด 
  • รักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ต่อต้านโรคเก๊าต์ ต่อต้านโรคเบาหวาน แก้โรคไขมันสูง รักษาโรคไทรอยต์ต่ำ ไม่เหมาะกับผู้มีไทรอยต์สูง มีรายงานจากแหล่งจำนวนมากว่ารักษาโรคมะเร็งได้ โดยรับประทานใบ 3 ครั้งต่อวัน เช้า เที่ยง เย็น โดยรับประทานใบสด วันละ 5 - 7 ใบต่อครั้ง 
  • ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย 
  • ช่วยรักษาหูดให้หลุดออกและผิวเรียบปรกติ 
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก เพิ่มสมรรถนะทางเพศ รักษาโรคใจสั่น 
  • ช่วยให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ภญ.ผศ.ดร.ศรีสมพร ปรีเปรม
  2. การศึกษาด้านเภสัชเวทของหนานเฉาเหว่ย (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
  3. http://www.royalparkrajapruek.org/Plants