ฉนวน
  ชื่อสามัญภาษาไทยฉนวน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCha nuan
  ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia nigrescens Kurz.
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นกระพี้ ไฮปันชั้น (ลำปาง) กระพี้โพรง (ราชบุรี) สนวน (ภาคกลาง)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ฉนวนเป็นไม้ต้น สูง 12-18 เมตร เปลือกสีเทาอ่อน แตกเป็น เกล็ดสี่เหลี่ยม

    ใบ ใบประกอบแบบขนนกชนั้เดียวปลายคี่เรียงแบบสลับใบ ย่อย7-11ใบเรยีงแบบสลับรูปไข่กลับยาว1-2.5ซม.กว้าง 0.5-1 ซม. ปลายมนหรอื เว้าเล็กน้อย ฐานใบมน หรอื สอบ ขอบ ใบเรียบผิวใบทั้งสองด้านเกลีย้ง

    ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงออกตามซอกใบ ดอกย่อยรูป ดอกถั่ว กลีบเลีย้ งสีมว่ งแดงเช่อื มกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ ปลายกลีบสีเหลือง

    ผล ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน ยาว 2.5-8 ซม.ปลายและโคนฝักมน ผลแก่สีดาไม่แตก

สรรพคุณทั่วไป

ราก ป้องกันรังแค เปลือกต้น ผสมลำต้นตาปู ลำต้นตาเสือ ต้มน้ำดื่ม แก้คอพอก แก่น แก้ขี้เรื้อนใหญ่ ขี้เรื้อนกวาง และขี้เรื้อนน้ำเต้า
 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

ต้นใช้เลี้ยงครั่ง และ ไม้ทาเยื่อกระดาษ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.royalparkrajapruek.org/Plants
  2. https://tree.kku.ac.th/project-tree1/docs/ชนิดของต้นไม้/ฉนวน.pdf
  3. หนังสือ ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรประเทศไทย หน้า 78
  4. หนังสือ ชื่อพรรไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตานันท์ หน้า 180