พลับพลึง
  ชื่อสามัญภาษาไทยพลับพลึง
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCape lily, Giant lily, Golden-leaf Crinum lily, Poison bulb, Spider lily
  ชื่อวิทยาศาสตร์Crinum asiaticum Linn.
  ชื่อวงศ์Amaryllidaceae
  ชื่อท้องถิ่นลิลัว (ภาคเหนือ),พลับพลึง(ภาคกลาง),พลับพลึงดอกขาว
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นพลับพลึง เป็นพรรณไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ และมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำตัวกลมมีความกว้างประมาณ 15ซม.และยาวประมาณ30ซม. 

ใบพลับพลึง จะออกรอบๆลำต้น ลักษณะใบแคบยาวเรียว ใบจะอวบน้ำ ขอบใบจะเป็นคลื่น ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะมีความยาวประมาณ1เมตร และกว้างประมาณ 10-15ซม. 

ดอกพลับพลึง จะออกเป็นช่อ ตรงปลายจะเป็นกระจุก มีประมาณ12-40ดอก ตอนดอกนังอ่อนอยู่จะมีกายเป็นสีขาวอ่อนๆหุ้มอยู่2กาบ ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ90ซม. ดอกมีความยาวประมาณ 15ซม.กลีบดอกจะเป็นสีขาว และมีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้จะมี6อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกตอนโคน ตรงปลายเกสรมีลักษณะเรียวแหลมยาวเป็นสีแดง โคนเป็นสีขาว ส่วนอับเรณูนั้น จะเป็นสีน้ำตาล 

ผลพลับพลึง ผลจะเป็นสีเขียวอ่อน และผลค่อนข้างกลม

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยขับเสมหะ 
  • ราก เมื่อนำไปเคี่ยวให้แหลกจนเป็นน้ำ แล้วกลืนเอาแต่น้ำเข้าไปจะช่วยทำให้อาเจียน 
  • ช่วยทำให้คลื่นเหียนอาเจียน 
  • ใช้เป็นยาระบาย 
  • ใบใช้ลนไฟ ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อนได้ (ใช้กันในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี)
  • ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและน้ำดีได้ 
  • ช่วยขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาจนหมด 
  • ใบพลับพลึงสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้ออักเสบ 
  • ช่วยแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเท้าพลิกแพลงได้ ด้วยการใช้ใบพลับพลึงนำมานึ่งไฟให้ใบอ่อนตัวลง แล้วนำมาพันรอบบริเวณที่เจ็บ 
  • ช่วยแก้อาการปวดกระดูก ด้วยการใช้ใบพลับพลึงตำผสมกับข่าและตะไคร้ นำไปหมกไฟแล้วนำมาพอกบริเวณที่ปวดกระดูก 
  • รากพลับพลึงใช้พอกแผลได้ ด้วยการนำรากมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล -ใบใช้ประคบแก้ถอนพิษได้ดี 
  • รากพลับพลึงสามารถใช้รักษาพิษจากยางน่องได้ 
  • ใบพลับพลึงสามารถนำมาใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรหรือการอยู่ไฟได้ ด้วยการใช้ใบประคบบริเวณหน้าท้อง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้น้ำคาวปลาแห้ง ช่วยขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ นอกจากนี้ยังช่วยขจัดไขมันส่วนเกินได้อีกด้วย 
  • ใบพลับพลึงมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ที่ชื่อว่า Lycorine ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโปลิโอและโรคหัด

 
สรรพคุณเฉพาะส่วนของสมุนไพร
 
  หัวระบายท้อง
  เมล็ดขับระดู
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.samunpri.com https://medthai.com/พลับพลึง