มะรุม
  ชื่อสามัญภาษาไทยมะรุม
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษMoringa
  ชื่อวิทยาศาสตร์Moringa oleifera Lam.
  ชื่อพ้องGuilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann
  ชื่อวงศ์Moringaceae
  ชื่อท้องถิ่นบะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะรุม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 15 – 20 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ เติบโตมีความสูงถึง 4 เมตร และออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก 

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 – 40 ซม.ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 – 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานในมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน 

ออกดอกในฤดูหนาว ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน 

ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝักฝักยาว 20 – 50 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ ซม. 

MoringaStenopatala หรือมะรุมพันธุ์กระดูก ลักษณะมีขนาดเล็กสูงไม่ถึง 12 เมตร หรือประมาณ 39 ฟุต ลำต้นก็มีหลายกิ่ง ใบมี คล้ายแผ่นเชิงวงรีรูปไข่หรือรูปใบหู ดอกมีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยงสีครีม ขาว ชมพู หรือสีเหลือง มีเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ฝักมีความยาว 30 – 60 ซม.

สรรพคุณทั่วไป

บำบัดโรคเบาหวาน รักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยรักษารักษาโรคมะเร็ง ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคเก๊าส์ ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก รักษาโรครูมาติซั่ม ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ท้องผูก รักษาโรคพยาธิในลำไส้ รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ ช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ รักษาโรคตา แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งใช้ชุ่มชื่นชะลอความเหี่ยวย่นของผิว ช่วยรักษาแผลสด ถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็กๆ น้อยๆ ลดอาการผื่นผ้าอ้อมในเด็ก ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิว ช่วยลดจุดด่างดำหลังจากโดนแดด ใช้นวดศีรษะ รักษาราผิวหนัง บรรเทาอาการผมร่วง คันศีรษะ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ น้ำมันมะรุม ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยชะลอความแก่
 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

ตำราพื้นบ้าน
  • ใช้ใบมะรุมใช้พองแผลช่วยห้ามเลือด

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. มะรุมต้นไม้มหัศจรรย์.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง (พืชสวน) 
  2. รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ.มะรุมลดไขมันป้องกันมะเร็ง.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่338.มิถุนายน2550 
  3. ดร.วรรดาเรศโภดาพานิช, ดร.เสาวนาภรณ์ โชคสกุลพร.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการกำจัดโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำด้วยเมล็ดมะรุมศึกษาโดยโฟโต้อิเลคตรอนสเปกโตรสโกปี.มหาวิทยาลัยนครพนม.มีนาคม 2558.หน้า 1-6