ฮ่อสะพายควาย
  ชื่อสามัญภาษาไทยฮ่อสะพายควาย
  ชื่อวิทยาศาสตร์Sphenodesme pentandra
  ชื่อวงศ์Lamiaceae
  ชื่อท้องถิ่น
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฮ่อสะพายควายเป็นไม้เถาใหญ่แข็ง ลำเถาเป็นข้อปล้องยาว เปลือกสีน้ำตาลปนขาว เนื้อในสีแดงอ่อน กิ่งอ่อนใบเหลี่ยม มีขนทั่วไป เถาเลื้อยยาวประมาณ 10 เมตร เกาะเกี่ยวต้นไม้ต้นอื่น

ใบฮ่อสะพายควาย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2-9 ซม. ยาว 6-18 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โรตใบกลมหรือมน 

ดอกฮ่อสะพายควาย สีม่วงแกมเขียว ออกเป็นช่อใหญ่ ขนาด 15-30 ซม. ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียว 6 ใบ คล้ายกลีบ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล รูปขอบขนานปลายมนกว้าง 0.5 ซม. ยาว 2 ซม. กลีบรองดอกม้วนห่อเป็นหลอด ไม่หลุดร่วง กลีบดอก 5 กลีบ เป็นแผ่นมีขนสีม่วงเป็นกระจุกอยู่กลางดอก

ผลฮ่อสะพายควาย ผลสด ทรงกลม มีเมล็ดเดียว

สรรพคุณทั่วไป

  • เถา รสเฝื่อนเมา บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดเอว แก้ปวดกระดูก แก้อัมพาต รักษาโรคเหน็บชา
  • ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคกระเพาะอาหาร
  • ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลังทางเพศ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • เมื่อน้ำมาต้มและดื่มน้ำ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่ต้องดื่มให้ได้ปริมาณเพียงพอ น้ำต้มมีรสจืดสีใส ผู้คนจึงนิยมนำเอาใบเตยใส่ลงไปต้มกับใบฮ่อสะพายควาย เพิ่มรสหอมลงไปนิด ๆ 
  • เถา ตากแห้งฝานเป็นแว่นผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นม้ากระทีบโรง จะค่าน ตานเหลือง มะตัน ขอ ข้าหลามดง หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้กระดูกและโด่ไม่รู้ล้ม ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://www.samunpri.com/ฮ่อสะพายควาย/
  2. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 149.