โสน
  ชื่อสามัญภาษาไทยโสน
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSesbania, Sesbanea pea, Sesbania flowers
  ชื่อวิทยาศาสตร์Sesbania javanica Miq.
  ชื่อวงศ์Fabaceae
  ชื่อท้องถิ่นผักฮองแฮง (ภาคเหนือ), โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง (ภาคกลาง), สี่ปรีหลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
 
 
สรรพคุณทั่วไป

  • ดอกโสนมีรสจืด มัน เย็น มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ (ดอก)
  • รากโสนมีรสจืด มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
  • ดอกมีสรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้ (ดอก)
  • ใช้แก้อาการปวดมวนท้อง (ดอก)
  • ต้นโสนมีรสจืด แพทย์แผนโบราณจะนำต้นมาเผาให้เกรียม แล้วนำมาแช่น้ำให้เป็นด่าง ใช้ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  • ใบใช้ตำเป็นยาพอกแผล ส่วนดอกก็สามารถนำมาปรุงเป็นยาพอกแผลได้เช่นกัน (ใบ)
  • ใบโสนมีรสจืดเย็น นำมาตำผสมกับดินประสิวและดินสอพอง ใช้เป็นยาพอกแก้ปวดฝี ช่วยถอนพิษ (ใบ)
  • ดอกใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ดอก)

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “โสนกินดอก (Sano Kin Dok)”.  หน้า 311.
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 369 คอลัมน์ : บทความพิเศษ.  (รศ.ดร.กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนะ).  “ดอกโสนบ้านนา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.  [05 ต.ค. 2014].
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย.  “โสน : ผักพื้นบ้าน อาหารแบบไทย ๆ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : ittm-old.dtam.moph.go.th.  [05 ต.ค. 2014].
  • รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.  “โสน”.  บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม 2547  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th.  [05 ต.ค. 2014].
  • https://medthai.com/โสน/