กะพ้อ
  ชื่อสามัญภาษาไทยกะพ้อ
  ชื่อวิทยาศาสตร์Licuala paludosa Griff.
  ชื่อวงศ์Arecaceae
  ชื่อท้องถิ่นกะพ้อหนาม (ภาคกลาง) กะพ้อเขียว พ้อ (ภาคใต้) กูวาแมเราะ (มลายู – นราฯ) ขวน, พ้อพรุ (นราธิวาส)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กะพ้อเป็นไม้ปาล์ม ต้นแตกกอ ขนาดเล็กสูง 3-5 เมตร มีลักษณะเรือนยอดเป็นรูปพัดหรือคล้ายร่มหรือครึ่งวงกลม มีชื่อสามัญภาษอังกฤษว่า mangrove fan palm ลำต้นมีรอยกาบจางๆมักมีกาบใบหรือใบแห้งที่ไม่หลุดร่วงปกคลุม บางครั้งแตกหน่อขึ้นอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหนาแน่น

ใบ เป็นใบประกอบลักษณะคล้ายนิ้วมือ ดูคล้ายใบเดี่ยว ตั้งขึ้นและแผ่ออก 10-15 ทาง เรียงเวียนสลับซ้อนกันเป็นกระจุกที่ปลายยอด ช่อใบรูปพัด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100-150 เซนติเมตร ใบย่อยเว้าลึกถึงแก่นกลางและแผ่เป็นรัศมี 15-25 แฉก แผ่นแฉกใบพักจีบรูปขอบขนานหรือรูปลิ่ม ปลายแฉกตัดหรือหยิกซิกแซกไม่สม่ำเสมอเส้นใบแบบขนานตามความยาวของใบ ผิวเกลี้ยงผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีซีดกว่า ขอบก้านใบมีหนามโค้งเรียงไม่เป็นระเบียบ ขอบกาบมีรกหรือเส้นใยหยาบสีน้ำตาลสานกันห่อหุ้มลำต้น

ดอก เป็นแบบดอกช่อ แบบช่อเชิงลดไม่มีก้านแยกแขนงออกช่อตามง่ามใบ2-3 ช่อ ช่อดอกตั้งขึ้นโค้งแล้วแผ่ออก แต่ละช่อแตกแขนง 7-10 กิ่ง แต่ละกิ่งประกอบด้วยช่อย่อย 3-4 ช่อ ดอกสมบูรณ์เพศขนาดเล็ก ดอกตูมรูปทรงไข่ ไร้ก้านสีขาวแกมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงขนาดเล็กมีโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 3 แฉก ออกดอก เดือนมกราคม

ผล เป็นเมล็ดเดียวแข็ง รูปทรงกลม ผิวเกลี้ยงเป็นมันสีส้มหรือแดง เนื้อผลชุ่มน้ำผนังผลชั้นในบางและแข็งคล้ายหิน มี1 เมล็ด ออกผลใน เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน

สรรพคุณทั่วไป

ช่วยขับเลือดในผู้หญิง ทำให้เลือดลมดี รักษาพิษโรคหนอง แก้อาการปวดศีรษะ
 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. https://km.dmcr.go.th/c_1/s_350/d_18837