ครอบฟันสี
  ชื่อสามัญภาษาไทยครอบฟันสี
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCountry mallow, Moon flower , Indian mallow
  ชื่อวิทยาศาสตร์Abutilon indicum (L.) Sweet
  ชื่อวงศ์Malvaceae
  ชื่อท้องถิ่นครอบ , ขัดมอญ , ครอบตลับ , ครอบจักรวาล , ตอบแตบ พรมชาติ (ภาคกลาง) , ก่องเข้า , บะก่องข้าว (ภาคเหนือ) , โผงผาง (โคราช) , บั่วปั่วเช่า , กิมฮวยเช่า (จีน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ครอบฟันสีจัดเป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก สูง 0.5-2.5 เมตร มีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุมทั่วไป

ใบ ออกแบบเรื่องสลับกัน ก้านใบยาว ตัวใบลักษณะกลม ปลายใบแหลมสั้นฐานใบเว้าคล้ายหัวใจยาว 3-9 เซนติเมตร กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ขอบใบมีรอยหยักรูปฟัน มีขนนุ่มสีเทาปกคลุมทั้ง 2 ด้าน

ดอก ออกจากซอกก้านใบ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลือง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง2-2.5เซนติเมตร ก้านดอกยาว ทางใกล้โคนดอกไม้มีรอยเป็นข้อ 1 รอย กลีบเลี้ยงติดกัน บานออกคล้ายจาน มีรอยแยกฉีกๆ แบ่งออกเป็น 5 กลีบ แต่ละกลีบปลายแหลมสั้นๆ มีสีเขียว มีขนนุ่มสีเทา ปกคลุมด้านนอกกลีบดอกมี 5 กลีบ ตัวผู้มีจำนวนมากติดกันที่โคนเป็นหลอดสั้นๆ รังไข่อยู่เหนือส่วนอื่นของดอกทั้งหมด ผนังรังไข่เป็นกลีบเรียง ติดกันรอบๆ เป็นรังสีทรงกลม

ผล เป็นกลีบๆ เรียงติดกันคล้ายฟันเฟืองข้าว มี 15-20 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร หนาประมาณ 1.5 เซนติเมตร ภายนอกมีขนสั้นๆ ปกคลุมอยู่

เมล็ด มีลักษณะคล้ายรูปไต มีขนสั้น ๆ โดยในเมล็ดจะมีไขมันอยู่ประมาณ 5%

สรรพคุณทั่วไป

  • ทั้งต้น - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน
  • ราก - รสจืด ชุ่ม เย็น ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ
  • เมล็ด - ใช้แก้บิดมูกเลือด ฝีฝักบัว

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน ใช้ภายนอก ตำพอก
  • รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง
  • เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ครอบทั้ง3 (ครอบจักรวาล ครอบฟันสีครอบตลับ). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 18, นนทบุรี
  2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ครอบจักรวาฬ, ครอบตลับ, ครอบฟันสี”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 164-167.
  3. นันทวัน บุณยะประภัศร และอรนุช โชคชัยเจริญพร. (2539). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1).กรุงเทพฯ ประชาชน
  4. ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ.คอลัมน์ สมุนไพรน่ารู้.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่11.มีนาคม 2523.
  5. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ครอบฟันสี. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 148, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์ 2540 
  6. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “ครอบตลับ”.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 152.
  7. อำภา คนซื่อ,ขวัญยืน เลี่ยมสำโรง,สภาวดี ตรีรัตนถวัลย์.ศรีอรุณ โพธิ์เกตุ.ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดครอบฟันสีและไทยราบ.วารสารวิทยาศาสตร์ มข.ปีที่46.ฉบับที่2.เมษายน-มิถุนายน 2561.หน้า 228-237
  8. ครอบฟันสี ครอบจักรวาล.กระดาน ถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5269
  9. ครอบฟันสี.กลุ่มยารักษาริดสีดวงทวาร.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_1.htm
  10. ครอบฟันสีรักษาโรคลมชักได้จริงหรือไม่?.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5612
  11. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_1.htm