|
ชื่อสามัญภาษาไทย | นมวัว |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Scleropyrum pentandrum (Dennst.) Mabb. |
ชื่อพ้อง | Bridelia horrida Dillwyn,Scleropyrum wallichianum Arn., Antidesma parasiticum Dillwyn, Pothos pentandrus Dennst., |
ชื่อวงศ์ | Santalaceae |
ชื่อท้องถิ่น | มะไฟแรด, ขี้หนอน เคาะหนาม (เชียงใหม่), นมวัว (นครราชสีมา), เหมือดคน (ภาคกลาง จันทบุรี สระบุรี) |
นมวัวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 7 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมแข็ง ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วลำต้น ลำต้นและกิ่งอ่อนมีสีเขียว ลำต้นที่แก่จะแตกเป็นร่องลึก เปลือกลำต้น และเปลือกใน สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้างได้ถึง 5 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบแก่แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบ เป็นมัน ท้องใบผิวเกือบเกลี้ยง ที่เส้นกลางใบมีร่องเล็กตามยาว ก้านใบมีขนนุ่ม ไม่มีหูใบ ดอกช่อเชิงลดออกจากลำต้น และซอกใบ ช่อดอกอัดแน่นรูปทรงกระบอก ช่อดอกแยกเพศหรือสมบูรณ์เพศอยู่ร่วมต้น ดอกมีขนาดเล็ก กลีบรวม 5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน สีเขียวแกมเหลือง ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบช่อหางกระรอกออกรวมกันเป็นกลุ่ม มักออกจากลำต้น ดอกมีกลิ่นเหม็น มีก้านดอกย่อยสั้นมาก ดอกเพศเมียไม่มีก้านดอก ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ รังไข่อยู่ต่ำกว่าวงกลีบ ในดอกที่สมบูรณ์เพศมักมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ผลสดเมล็ดในแข็ง ทรงลูกแพร์หรือรูปไข่ ขนาด 1.3-2.6 เซนติเมตร เมล็ดมี 1-3 เมล็ด รูปทรงกลม การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือการตอนกิ่ง พบตามป่าเต็งรัง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-1,600 เมตร ออกดอกราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม | |
ยาพื้นบ้านอีสานใช้
ตำรายาไทย
| |
เถา | แก้ไข้กลับ บำรุงน้ำนม |
ราก | แก้ไข้กลับ บำรุงน้ำนม |
|