ชะเอมเทศ
  ชื่อสามัญภาษาไทยชะเอมเทศ
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษLicorice Root , Sweet Root , Russian licorice, Spanish licorice, Chinese licorice
  ชื่อวิทยาศาสตร์Glycyrrhiza glabra L. และ Glycyrrhiza uralensis Fisch.ex DC.
  ชื่อวงศ์Leguminosae
  ชื่อท้องถิ่นกันเฉ่า (จีนกลาง) , กำเช่า (จีนแต้จิ๋ว)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ชะเอมเทศเป็นพืชมีอายุหลายปี โดยถูกจัดเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 เมตร มีรากขนาดใหญ่จำนวนมากลำต้นมีขนสั้นๆ ปลายมีต่อมเหนียว

    ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับกัน มีใบย่อย 9-17 ใบ ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปกลมรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-5.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบกลมมน มีขนสั้น ๆ ทั้งสองด้าน

    ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ยาว 5-12 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมากติดกันหนาแน่น ดอกย่อยรูปดอกถั่ว สีม่วงอ่อนถึงขาว ผลเป็นฝักกลมงอคล้ายเคียว มีขนปกคลุม ภายในมีเมล็ด 2-8 เมล็ด รูปกลมแบนหรือรูปไต สีดำเป็นมัน

    ราก มีลักษณะเป็นท่อนกลมยาวมีลักษณะแตกต่างกันตามสายพันธุ์

สรรพคุณทั่วไป

  • ใช้ขับเลือดเน่า
  • บำรุงหัวใจใช้ชุ่มชื่น
  • แก้กำเดา
  • แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยลดพิษ หรืออาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาได้
  • ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
  • เป็นยารักษาดีพิการ
  • รักษาอาการคัน
  • รักษาพิษฝีดาษ
  • ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
  • ใช้เป็นยาบำรุงปอด
  • รักษาอาการเบื่ออาหาร
  • รักษาอาการอ่อนเพลียจากการ ตรากตรำทำงานหนัก
  • เป็นยาแก้โรคกระเพาะแก้อาการใจสั่น
  • แก้โรคลมชัก
  • ทำให้ผิวกระจ่างใน ลดเลือนริ้วรอย และจุดด่างดำได้

 
 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. สมุนไพรดอตคอม.  “ชะเอมเทศ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com.  [27 พ.ย. 2013].
  2. ไทยรัฐออนไลน์.  “ชะเอมเทศ ลดการไอเพราะภูมิแพ้“. (นายเกษตร).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th.  [27 พ.ย. 2013].
  3. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  “ชะเอมเทศ กับความดันโลหิตสูง“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th.  [27 พ.ย. 2013].
  4. สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้.  “กำเช่า“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: tcm.dtam.moph.go.th.  [27 พ.ย. 2013].
  5. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.  “ชะเอมเทศ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/ชะเอมเทศ.  [27 พ.ย. 2013].
  6. DR.SAROJ.  “เคล็ดลับความรู้เรื่องสมุนไพรกับ ดร.สาโรช”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.drsaroj.co.th.  [27 พ.ย. 2013].
  7. กรีนคลินิก.  “ชะเอมเทศ“.  อ้างอิงใน: หนังสือตำราเครื่องยาไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), หนังสือสวน 20 ปีสมุนไพร (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.greenclinic.in.th.  [27 พ.ย. 2013].
  8. รีดเดอร์ส ไดเจสท์ สรรสาระ.  “ชะเอมเทศ“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.readersdigestthailand.co.th.  [27 พ.ย. 2013].