ม้ากระทืบโรง
  ชื่อสามัญภาษาไทยม้ากระทืบโรง
  ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm.
  ชื่อพ้องFicus reticulata (Miq.) Miq.
  ชื่อวงศ์Moraceae
  ชื่อท้องถิ่นม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร (ระนอง), พญานอนหลับ (นครสวรรค์), มาดพรายโรง (โคราช), เดื่อเครือ (เชียงใหม่), บ่าบ่วย (คนเมือง), ม้าทะลายโรง (ภาคอีสาน)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นม้ากระทืบโรง จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มักเลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้ชนิดอื่น มีความสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกมีสีน้ำตาลและสาก มีปุ่มขึ้นคล้าย ๆ หนาม เนื้อไม้สีขาวและมีน้ำยางสีขาว เถามีรสเย็น ส่วนทั้งต้นจะมีรสขมเล็กน้อย มักพบเกาะเลื้อยอยู่ตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตัดเถาม้ากระทืบโรงประมาณ 1 คืบแล้วนำมาปักชำ 

มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก หรือรูปไข่ หรือเป็นรูปขอบขนานแกมวงรี ก้านใบและผิวใบด้านล่าง รวมไปถึงฐานรองดอกอ่อนจะมีขน ใบกว้างประมาณ 7-9 เซติเมตร และยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร 

ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ที่ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม 

ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกผลสีเขียว ภายในผลเนื้อมีสีแดง

สรรพคุณทั่วไป

  • บำรุงกำลัง
  • บำรุงร่างกาย
  • บำรุงตามกำหนัด
  • บำรุงโลหิต
  • แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • แก้ปวดฟัน
  • แก้ปวดศีรษะ
  • บำรุงธาตุ
  • แก้ประดงเลือด
  • แก้เม็ดตุ่มตามผิวกาย
  • แก้ประดงลม
  • แก้น้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • แก้เลือดเสีย
  • แก้เลือดค้าง
  • แก้ซูบซีด
  • เป็นยาอายุวัฒนะ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

  • แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ประดงเลือด ประดงลม แก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกำหนัด แก้เลือดเสีย แก้ซูบซีด โดยใช้เถาแห้งต้มกับน้ำใช้ดื่ม หรือจะใช้ดองกับสุราแล้วดื่มก็ได้ 
  • หรืออาจจะนำไปเข้ากับเครื่องบาอื่นๆ เช่น เปลือกต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพายควาย ตานเหลือง มะตันขอ จะค้าน ข้าว แก่นฝาง หลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก และโด่ไม่รู้ลืม แล้วนำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายก็ได้ 
  • หรือจะใช้ดอกแห้งกับเครื่องยาอื่นๆ เช่น ม้ากระทืบโรง กระชาย กำลังวัวเถลิง เถาเอ็นอ่อนก็ได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. ภญ.กฤติยา ไชยนอก.สมุนไพรไทยกับภารเสื่อมสมรรถภาพ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  2. พรชนก ชโลปกรณ์ , พงศธร กล่อมสกุล .ฤทธิ์ยับยั้งแอลฟาอะไมเลสและอัลฟากลูโคซิเดสของสารสกัด ฝาก ม้ากระทืบโรง และปลาไหลเผือก.บทความวิจัย.วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 12.ฉบับที่ 1.มกราคม-มิถุนายน 2560.หน้า63-73
  3. ศรัญญา จุฬารี,กชกร เพียซ้าย , วาริธร ประวัติวงศ์,นฤมล สิงห์แดง,รายงานผลการศึกษาสมุนไพรและการนำไปใช้:กรณีศึกษาพื้นที่รอบเขื่อนน้ำพุง จังหวัดสกลนคร.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.พ.ศ.2557
  4. ม้ากระทืบโรง.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=108