เร่ว
  ชื่อสามัญภาษาไทยเร่ว
  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษBastard Cardamom , Tavoy Cardamom
  ชื่อวิทยาศาสตร์Amomum villosum var. xanthioides (Wall. ex Baker) T.L.Wu & S.J.Chen
  ชื่อพ้องAmomum xanthioides Wall. ex Baker
  ชื่อวงศ์Zingiberaceae
  ชื่อท้องถิ่นหมากแหน่ง (สระบุรี), หน่อเนง (ชัยภูมิ), มะอี้ หมากอี้ มะหมากอี้ (เชียงใหม่), หมากเนิง (ภาคอีสาน), เร่วใหญ่ (ทั่วไป)
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    เร่วเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง

    ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า

    ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม

    เมล็ดมีสีน้ำตาล เร่วมีหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้มีลักษณะต้นแตกต่างกันไป

สรรพคุณทั่วไป

  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ด้วยการใช้เมล็ดเร่วผสมกับหัวแห้วหมู ขิงแห้ง และชะเอมเทศ นำมาปรุงเป็นยารับประทาน
  • ช่วยแก้ธาตุพิการ
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยแก้โลหิตขึ้นเบื้องสูง
  • ดอกเร่วน้อย ผลมีรสเผ็ดปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้ ช่วยแก้ไข้สันนิบาต ช่วยแก้ไข้เซื่องซึม
  • ผลเร่วใหญ่มีรสมันเผื่อนติดเปรี้ยว ช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะได้ ช่วยแก้อาการหืด แก้อาการไอ ช่วยแก้หืดไอ ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้
  • ผลช่วยแก้เสมหะในลำคอ
  • เมล็ดช่วยกัดเสมหะ ช่วยแก้เสมหะอันบังเกิดแต่ดี ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ

 
 
วิธีใช้โดยทั่วไป

ผลหรือเมล็ดจากผลที่แก่จัดใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้เมล็ดจากผลแก่นำมาบดให้เป็นผง แล้วใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 1-3 กรัม (ประมาณ 3-9 ผล) วันละ 3 ครั้ง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.rspg.or.th/plants_data/use/herbs01-13.htm